การจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข กลุ่มเภสัชกร
1. คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน
     1.1 คุณสมบัติทั่วไป
          1.1.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางเภสัชศาสตร์หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่สภาเภสัชกรรมรับรองหรือที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง ที่มีใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่ยังใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ถูกพักใช้หรือเพิกถอน และปฏิบัติงานให้บริการด้านสุขภาพตามวุฒิการศึกษาดังกล่าว
     1.2 คุณสมบัติเฉพาะ
          1.2.1 ปฏิบัติงานในตำแหน่งเภสัชกร หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นแต่กำหนดคุณสมบัติ เฉพาะสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาทางเภสัชศาสตร์ หรือดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออื่นแต่ขึ้นดำรงตำแหน่งในฐานะเภสัชกร
          1.2.2 ปฏิบัติงานด้านเภสัชกรรม การคุ้มครองผู้บริโภค การพัฒนาระบบงานเภสัชกรรมและงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกับการพัฒนาคุณภาพงานเภสัชกรรม
     1.3 หน่วยงานที่ปฏิบัติ
          1.3.1 ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในหน่วยงานในสังกัดกระทรวง/กรม/สำนัก/กอง มหาวิทยาลัย องค์การมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ
2. การจัดกลุ่มของเภสัชกร
     การจัดกลุ่มในสายงานเภสัชกร จะจำแนกเป็น 2 กลุ่ม โดยพิจารณาจากเกณฑ์ความเสี่ยงของงานต่อตัวเภสัชกรผู้ปฏิบัติเป็นหลัก ไม่ได้พิจารณาแยกกลุ่มตามความสำคัญหรือความจำเป็นของงานแต่อย่างใด เนื่องจากกงานเภสัชกรรมที่ปฏิบัติในหน่วยงานต่าง ๆ เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถและทักษะความชำนาญทางด้านเภสัชศาสตร์ในการปฏิบัติอยู่แล้วในทุกกิจกรรม ดังนั้นการแบ่งกลุ่มในครั้งนี้จึงพิจารณาเฉพาะเรื่องความเสี่ยงของงานเป็นสำคัญ ดังนี้
     กลุ่มที่ 1
          เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถและทักษะความชำนาญในการปฏิบัติที่สูงในงานด้านต่าง ๆ ดังนี้
          1) งานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก
          2) งานบริการจ่ายยาผู้ป่วยใน
          3) งานบริหารเวชภัณฑ์และคลังเวชภัณฑ์
          4) งานผลิตยาทั่วไปและยาปราศจากเชื้อ
          5) งานเตรียมยาและสารอาหารที่ปราศจากเชื้อสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย
          6) งานเภสัชกรรมคลินิก
          7) งานบริบาลทางเภสัชกรรม
          8) งานบริการข้อมูลข่าวสารด้านยา (งานเภสัชสนเทศ)
          9) งานเภสัชกรรมชุมชน
          10) งานการแพทย์แผนไทย
          11) งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ทั้งในส่วนของงาน Pre – marketing และงาน Post – marketing
          12) งานตรวจวิเคราะห์และประกันคุณภาพยา
          13) งานการสอนควบคู่กับการบริการทางเภสัชกรรม
          14) งานพัฒนาระบบและคุณภาพงานเภสัชกรรม
          15) งานประสานและพัฒนาเภสัชบุคลากร
          16) งานบริหารในฐานะหัวหน้าหน่วยงานทางเภสัชกรรม
          17) งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเกื้อกูลกับการพัฒนาคุณภาพงานเภสัชกรรม ที่ไม่ใช่งานในกลุ่มที่ 2
     กลุ่มที่ 2
          เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถและทักษะความชำนาญในการปฏิบัติและเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูงต่อผู้ปฏิบัติงาน โดยงานในกลุ่มนี้มีดังนี้
          1) งานตรวจวิเคราะห์หรือเตรียมผสมยาเคมีบำบัด (เฉพาะกรณีที่เภสัชกรเป็นผู้ตรวจวิเคราะห์หรือเตรียมผสมยาเคมีบำบัดโดยตรง)
           2) งานให้คำปรึกษาด้านยาแก่ผู้ป่วยในคลินิกเฉพาะในกลุ่มโรคติดต่อร้ายแรง เช่น ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ป่วยวัณโรค เป็นต้น
           3) งานคุ้มครองผู้บริโภคด้าน Post – marketing เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตรวจจับและการดำเนินคดี
          โดยเภสัชกรในงานต่าง ๆ ในกลุ่มนี้จะต้องเป็นผู้ที่หน่วยงานมีคำสั่งมอบหมายและกำหนดให้เป็นผู้รับผิดชอบปฏิบัติหลัก โดยการพิจารณามอบหมายและกำหนดตัวบุคคลต้องกำหนดโดยคำนึงถึงภาระงานเป็นสำคัญ โดยกรณีหน่วยงานมีกิจกรรมตามที่กล่าวในข้างต้นและมีปริมาณงานมากพอในระดับหนึ่ง อาจกำหนดเภสัชกรผู้รับผิดชอบขั้นต่ำในงานไว้ 1 คน และกรณีบุคคลดังกล่าวยังมีเวลาปฏิบัติงานเหลืออยู่ อาจต้องมอบหมายให้ช่วยปฏิบัติงานอื่นด้วย
3. ประมาณการจ่ายค่าตอบแทน
     การกำหนดค่าตอบแทน จะกำหนดโดยจัดแบ่งออกเป็น 2 ระดับตามการจัดกลุ่ม ดังนี้
       กลุ่มที่ 1 ประมาณ 1,500 บาท
       กลุ่มที่ 2 ประมาณ 3,000 บาท
      อัตราการจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นเพียงอัตราประมาณการในการจ่ายค่าตอบแทนให้กับเภสัชกรที่ ปฏิบัติงานในแต่ละกลุ่มแต่อัตราที่เภสัชกรแต่ละคนในแต่ละกลุ่มจะได้รับจริง จะขึ้นกับวงเงินที่ได้รับ จัดสรรแต่ละปี และจำนวนเภสัชกรที่ยังคงปฏิบัติงานในกลุ่มต่าง ๆ ในแต่ละปีด้วย กรณีวงเงินไม่ เพียงพอที่จะจ่ายค่าตอบแทนในอัตราที่กำหนดดังกล่าว จะมีการปรับลดเงินค่าตอบแทนตามสัดส่วนกับ ยอดเงินที่ได้รับต่อไป และในปีต่อ ๆ ไปจะมีการพิจารณาเพื่อปรับเพิ่มอัตราค่าตอบแทนดังกล่าวตาม ความเหมาะสมต่อไป
4. ขอบเขตหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าตอบแทนในงานเภสัชกรรม
          หน่วยงานต่าง ๆ ที่อยู่ในกรอบของการพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนในงานเภสัชกรรม จะครอบคลุมเภสัชกรที่ปฏิบัติงานเภสัชกรรมและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพในหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
          1) โรงพยาบาลและสถานพยาบาลทุกระดับ
          2) สถานบริการสาธารณสุข
          3) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
          4) วิทยาลัยการสาธารณสุข
          5) กอง/สำนักในสังกัดกรม กระทรวง ต่าง ๆ
การจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขกลุ่มเภสัชกร/กิตติ/21มีค48
มีข้อสงสัยกรุณาติดต่อ
ภก. กิตติ
0-2590-1698 
ภก. ดวงตา
0-2590-1628 
(-) Print (-)